ไทยพบติดโควิด BA.2.75.2 แล้ว 1 ราย กลายพันธุ์ 248%

ไทยพบติดโควิด BA.2.75.2 แล้ว 1 ราย กลายพันธุ์ 248%

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ไวรัสก่อโรคโควิด-19 ว่า จากการเฝ้าระวังโควิด-19 เจเนอเรชั่น 3 โอมิครอน BA.2.75.2 สถาบันจีโนมประเทศอินเดียแถลงเตือนว่า โอมิครอน BA.2.75 ซึ่งเริ่มพบระบาดในอินเดียมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 คิดเป็นร้อยละ 82.9 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ BA.2.75

มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือ “เซนทอรัส” หรือมนุษย์ครึ่งคนครึ่งม้าในเทพนิยายกรีก มีนัยถึงการกลายพันธุ์ไปมากที่สุด เมื่อเทียบกับไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์อื่นที่เคยมีการระบาดมาก่อนหน้า

ขณะนี้พบว่า โอมิครอน BA.2.75 ได้มีการกลายพันธุ์ต่อเนื่องไปอย่างไม่หยุดยั้ง หนึ่งในสายพันธุ์ย่อยที่กลายพันธุ์ไปคือ “BA.2.75.2” โดยมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “เซนทอรัส 2.0” เนื่องจากเป็นลูกคนที่ 2 ของ BA.2.75 ลูกคนแรก คือ BA.2.75.1 ผู้เชี่ยวชาญภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งได้ระบุว่า โอมิครอน BA.2.75.2 เป็นสายพันธุ์ที่หลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดในปัจจุบัน อาจก่อให้เกิดการแพร่เชื้อได้มากขึ้นไปอีกในอนาคต

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ระบุว่า โอมิครอน BA.2.75 กลายพันธุ์มาจาก BA.2 ถือได้ว่า เป็นเจเนอเรชั่น 2 โดยมีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม หรืออู่ฮั่น 95-100 ตำแหน่ง มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด ประมาณร้อยละ 37 เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่นที่ระบาดอยู่ในอินเดียในปัจจุบัน

ส่วนโอมิครอน BA.2.75.2 กลายพันธุ์มาจาก BA.2.75 ถือได้ว่าเป็นเจเนอเรชั่น 3 โดยมีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสอู่ฮั่น 95-100 ตำแหน่งเช่นกัน แต่มีความได้เปรียบในการเติบโต แพร่ระบาด ถึงร้อยละ 248 เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.2.75 ที่ระบาดอยู่ในอินเดีย ซึ่งพบการระบาดครั้งแรกในประเทศอินเดีย และแพร่ไปยังประเทศชิลี อังกฤษ สิงคโปร์ สเปน เยอรมนี และประเทศไทย

ส่วนโอมิครอน BA.2.75.2 มีความได้เปรียบในการเติบโต แพร่ระบาด ถึงร้อยละ 90 เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.5 และร้อยละ 148 เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.4 ที่ระบาดอยู่ทั่วโลก

ศ.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ

จากการสืบค้นจากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก หรือจีเสด (GISAID) พบโอมิครอน BA.2.75.2 จากประเทศไทยที่โหลดขึ้นมาบน GISAID เพียงรายเดียว ยังไม่สามารถคำนวณความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เปรียบเทียบกับโอไมครอน BA.4 และ BA.5 ที่ระบาดในประเทศไทยได้เพราะจำนวนตัวอย่าง BA.2.75.2 ในประเทศไม่มากพอ

ทั้งนี้ ศ.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์สายพันธุ์โควิด-19 บนฐานข้อมูลโลก พบโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน BA.2.75.2 จำนวน 1 คน เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 เป็นผู้ป่วยชายไทย ที่โรงพยาบาล (รพ.) บำรุงราษฎร์ และกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นผู้ถอดรหัสพันธุกรรมและรายงานเข้ามาในระบบฐานข้อมูลโลก

สำหรับข้อมูลเบื้องต้นของสายพันธุ์โอมิครอน BA2.75.2 ถือเป็นลูกคนที่ 2 ของ BA2.75 ที่มีตำแหน่งกลายพันธุ์ประมาณ 100 ตำแหน่ง มีความได้เปรียบในการเติบโต ระบาดมากกว่า BA2.75 ถึง ร้อยละ 248 แต่ตัวเลขดังกล่าวยังไม่สามารถบอกถึงความรุนแรงของโรคได้ แต่เป็นสิ่งที่ให้ทุกคนต้องระวัง

ส่วนการแพร่ระบาดที่มากขึ้นดังกล่าว ก็ต้องขึ้นกับปัจจัยการฉีดวัคซีนของพื้นที่นั้นด้วย ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนครอบคลุมไปกว่าร้อยละ 80-90 ก็อาจจะไม่มีการแพร่ระบาดมาก

ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์โอมิครอน BA2.75.2 เป็นเรื่องปกติ เพราะไวรัสมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นลูกหลานของ BA.275 ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีปัญหาอะไร สำหรับสายพันธุ์ระบาดในประเทศไทยขณะนี้ ยังคงเป็นสายพันธุ์โอมิครอน BA.5 กว่าร้อยละ 80 ซึ่งก็ยังไม่มีสายพันธุ์ใดเข้ามาทดแทน

อย่างไรก็ตาม กรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีการติดตามสายพันธุ์ย่อยต่างๆ รวมกับนักวิทยาศาตร์ทั่วโลก ว่า BA2.75.2 จะระบาดขึ้นมาอย่างรวดเร็วหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ยังไม่พบการระบาดที่มีนัยยะสำคัญ และขณะนี้ก็ระบาดอยู่ที่ประเทศอินเดียเท่านั้น ประเทศอื่นยังไม่มี ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์ฯ ก็ยังมีการถอดรหัสพันธุ์กรรมตลอดเวลาเพื่อเฝ้าระวังสายพันธุ์ต่างๆ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ qiball-chiba.com

ufa slot

Releated