ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรี

กกอ. เห็นชอบจัดตั้ง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ใน มรภ. 3 แห่ง

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการการะทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ที่มี ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธาน ได้เห็นชอบในหลักการให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่1.มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ 2.มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 3.มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จัดตั้งส่วนราชการเพิ่มอีกแห่งละ 2 ส่วนราชการ ประกอบด้วย ส่วนราชการที่มีภารกิจในการจัดการศึกษาโดยตรง จำนวน 1 ส่วนราชการ คือ วิทยาลัยคุรุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ และส่วนราชการที่มีภารกิจด้านการสนับสนุนการจัดการศึกษา จำนวน 1 ส่วนราชการ คือ สำนักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ซึ่งจะเป็นส่วนราชการที่ช่วยขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่ ที่จะเน้นการพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาท้องถิ่น ผ่านกลไกการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) การผลิตกำลังคนทั้งในรูปแบบปริญญา (degree) และไม่รับปริญญา (nondegree) หลักสูตรที่ทำร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ การเรียนการสอนที่เอาโจทย์ของพื้นที่เป็นฐาน

ซึ่งนอกจากนี้ กกอ. ยังเห็นว่าการจัดตั้งส่วนงานเพื่อการศึกษาในรูปแบบใหม่นี้ จะเป็นอีกบริบทของการพัฒนาอุดมศึกษาไทย หากติดตามและประเมินแล้วว่าประสบความสำเร็จ จะนำไปขยายผลในมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อไป

กกอ. เห็นชอบจัดตั้ง การเรียนรู้ตลอดชีวิต ใน มรภ. 3 แห่ง

“มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 3 แห่ง เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏที่จัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏ แต่เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีการจัดตั้ง และแบ่งส่วนราชการระดับคณะกลุ่มหลังสุด โดยเมื่อแรกเริ่ม มีเพียง 2 ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 3 แห่ง มีการเติบโตและขยายตัวมากขึ้น เป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาจังหวัด พัฒนาพื้นที่ปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2565) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ มีนักศึกษา จำนวน 7,600 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มีนักศึกษา จำนวน 5,900 คน และมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีนักศึกษา จำนวน 4,600 คน”

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มส่วนราชการ ให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 3 แห่ง จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนากำลังคน สร้างความเป็นเลิศให้กับพื้นที่ ตามภารกิจของมหาวิทยาลัย ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 หรือกลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น

โดยรูปแบบของส่วนราชการใหม่นั้นจะมีความยืดหยุ่น ใช้ประโยชน์จากกลไกใหม่ ๆ ของกระทรวง อว. เช่น หลักสูตรแซนด์บอกซ์ (sandbox) หลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐาน 2565 ที่เปิดโอกาสให้ออกแบบการศึกษาร่วมกับผู้ใช้หรือผู้ที่จะจ้างบัณฑิต และระบบคลังหน่วยกิตมาใช้เพื่อให้การพัฒนากำลังคนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ qiball-chiba.com

แทงบอล

Releated